ฟุตบอลเอเซียพัฒนาแต่ยังตามหลังอาฟริกา theguardian 04/02/58

9/26/16
ที่มา กระทู้ในบอร์ดไทยแลนด์สู้ ๆ

Despite a successful Asian Cup, there is still plenty of work to be done on the continent before the gap can be closed on the African Cup of Nations

แม้ฟุตบอลเอเชียนคัพปี 2015 จะประสบความสำเร็จแต่ยังมีอะไรอีกมากที่เอเซียต้องทำเพื่อไล่ตามอาฟริกันคัพออฟเนชั่นส์

The Asian Cup, which wrapped up in Sydney at the weekend, was a wonderful event for so many reasons, including the football. Yet globally, it has lived in the shadow of the African Cup of Nations. And for good reason.

The Asian confederation represents the majority of the world’s population, some of its richest countries and many of its biggest economies. Yet its premier tournament boasted no team in Fifa’s top 50.

Africa, by comparison, has 11. In other words, the powerhouses of Asia – Iran (ranked 51 at the start of this month) and Japan (54) – are comparable to South Africa (52), who flopped spectacularly at the tournament in Equatorial Guinea.

Fifa’s calculations could be wrong, of course, but even using Nate Silver’s more sophisticated Soccer Power Index, Africa blitzes Asia: nine top 50 spots to three at the last count. So why such a gulf in class?

When a team like Zambia – GDP per head of around $1,500; population of 15 million – can make the top 50, it’s clearly not an economic or demographic issue.

ถือว่าทัวร์นาเม้นท์เอเชียนคัพ 2015 ที่ออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพนั้นประสบความสำเร็จด้วยหลายเหตุผลรวมไปถึงเหตุผลตรงๆด้านฟุตบอลด้วย แต่ในระดับโลกแล้วถือว่าเอเชียนคัพยังตามหลังอาฟริกันคัพออฟเนชันส์อยู่ ความเป็นจริงก็คือทัวร์นาเม้นท์เอเชียนคัพที่จัดโดย AFC ที่เป็นตัวแทนของประชากรกว่าครึ่งโลกแถมยังมีประเทศรวยๆและเขตเศรษฐกิจใหญ่ๆนั้นกลับไม่มีทีมชาติเอเชียที่มีฟีฟ่าแรงกิ้งอยู่ใน 50 อันดับแรกเลย

เมื่อเปรียบเทียบกับอาฟริกาแล้ว ในอาฟริกันคัพออฟเนชันส์มีทีมอาฟริกาที่อยู่ใน 50 อันดับแรกของโลกอยู่ถึง 11 ทีม ถ้าจะมองอีกมุมจะเห็นว่าทีมอิหร่านที่มีฟีฟ่าแรงกิ้งสูงสุดของเอเซียคือที่ 51 นั้นมีอันดับสูสีกับ อาฟริกาใต้ที่อยู่อันดับ 52 แต่อาฟริกาใต้นั้นฟุบไม่เป็นท่าในทัวร์นาเม้นท์ อาฟริกันคัพออฟเนชันส์ที่ เอควตอเรียล กีนี เป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2015

เอาล่ะถ้าจะมองว่าวิธีคิดคะแนนของฟีฟ่านั้นผิดพลาด แต่เมื่อใช้ดัชนีชี้วัด Soccer Power ของ เนท ซิลเวอร์ ที่ซับซ้อนกว่ามากมาคิดก็ปรากฏว่าอาฟริกายังขี้เอเซียอยู่: คือมีชาติอาฟริกาอยู่ 9 ชาติใน Top50 โดยมีชาติเอเซียอยู่เพียง 3 ชาติ ทำไมมันจึงห่างได้ขนาดนั้น?

เมื่อมองไปที่ชาติแซมเบีย ที่มี GDP ต่อหัวประชากรประมาณ 1500 เหรียญสหรัฐฯ และมีประชากร 15 ล้านคน ปรากฏว่าทีมชาติแซมเบียอยู่ใน Top50 ของโลก แสดงความความร่ำรวยทางเศรษฐกิจหรือสภาพภูมิศาสตร์ไม่เกี่ยวแล้ว

Saudi Arabia coach Cosmin Olăroiu spoke of his side lacking both the strength and organisational nous (on-field and off) to be truly competitive. His entire squad plays in the Saudi Professional League; the squad of Africa’s top team Algeria includes players from Tottenham, Napoli, Parma, Valencia, Sporting, Porto, Dinamo Zagreb, Trabzonspor and elsewhere in Europe’s big leagues.
Jordan’s English coach, Ray Wilkins, bemoaned the way his players were outmuscled by a Japan side chock full of German-based players. His adopted country has good youth teams, including its Olympic one, “but we have to steer them in the right direction, because they have to become physically much stronger [and cleverer]”. To put it another way, he’d like to see them tested in Europe rather than playing in the Gulf.

But for Tom Byer, a development expert working with both the Japanese and Chinese systems, change has to come from below. “My philosophy to developing players is exactly the same as to developing these countries,” the New Yorker says from Tokyo, his home of many years. “And that is: unless you can close the gap between the very best and the very worst, it’s very difficult to see a really big paradigm shift.”

คอสมิน โอลารู โค้ชทีมชาติซาอุฯ(ปี 2015) ได้เคยพูดว่าทีมชาติซาอุฯที่เขาคุมนั้นขาดทั้งความแข็งแกร่งและวินัย(ทั้งในและนอกสนาม)เกินกว่าจะเป็นทีมที่เรียกได้ว่านักสู้ ทีมชาติซาอุฯประกอบด้วยผู้เล่นที่มาจากลีกภายในทั้งหมด แต่ทีมชาติชั้นนำในอาฟริกาอย่างอัลจีเรียกลับมีนักเตะสังกัดในยุโรปหลากหลายไม่ว่าจะเป็น สเปอร์ส,นาโปลี,ปาร์ม่า,บาเล็นเซีย,สปอร์ติ้ง,ปอร์โต้,ดีนาโม ซาเกร็บ,แทร็บซอนสปอร์ และอีกหลายทีมในลีกยุโรป

เรย์ วิลกิ้นส์ โค้ชทีมชาติจอร์แดน(ปี 2015) บ่นถึงเรื่องที่ทีมชาติจอร์แดนโดนญี่ปุ่นที่มีนักเตะบุนเดสลีก้าเต็มทีมบดบี้จนหมดรุป จอร์แดนเองมีทีมเยาวชนที่ดีรวมถึงทีมโอลิมปิกด้วย "แต่เราต้องปั้นให้ถูกทาง เพราะพวกเขาต้องโตขึ้นไปเป้นนักเตะที่แกร่งและฉลาดกว่าที่เป็นอยู่" พูดอีกอย่างก็คือ วิลกิ้นส์อยากเห็นนักเตะจอร์แดนไปได้รับบททดสอบในลีกยุโรปมากกว่าจะเตะบอลอาชีพในอาหรับ

แต่สำหรับ ทอม ไบเออร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่เคยทำงานทั้งในญี่ปุ่นและจีน เขามองว่าต้องเปลี่ยนแปลงจากระดับรากหญ้าเลย "ปรัชญาของผมคือต้องพัฒนานักบอลเหมือนพัฒนาประเทศเหล่านั้นเป๊ะๆเลย" ไบเออร์ซึ่งเป้นชาวนิวยอร์คให้สัมภาษณ์จากโตเกียวที่ถือเป็นบ้านที่สองของเขามาหลายปี โดยบอกว่า "และนั่นก็คือ: ถ้าไม่สามารถลดช่องว่างระหว่างที่เก่งสุดกับห่วยสุดได้ ย่อมไม่มีทางเห็นการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางฟุตบอลได้เลย"

โอซาม่า โฮซาวี กัปตันและเซ็นเตอร์ซาอุฯเคยไปอันเดอเลชท์แต่ลงเล่นแค่ 1 นัด ทำไม?

He says Japan typically cruise through World Cup qualification, then didn’t know what to do when they came up against more seasoned opponents. It’s a problem Australia knows all too well from their years in Oceania. “Until we, Asia, the AFC, can start developing some of these other teams, these fringe countries that are starting to break through, [this will keep happening].”

One of those countries that needs to lift is China, where Byer has recently begun working with the Ministry of Education to get football back into schools. While he is heartened by the investment going into the game there, not to mention the national team’s early performances in this Asian Cup, he says there is still a long way to go.

“China only qualified for the 2002 World Cup because Japan and Korea automatically qualified [as hosts],” he said. “I never really hear anybody talk about that. They always talk about how China has played in a World Cup. But let’s be realistic.

“They throw money at the top end of the game, believing they are one coach away from qualifying, and nothing happens. If people really do their homework and they zero in on what’s needed to get your country competitive, it really starts with the grassroots effort.”

ไบเออร์บอกว่าอย่างทีมญี่ปุ่นนั้นผ่านรอบคัดเลือกบอลโลกโซนเอเซียได้แบบง่ายๆแต่พอเข้าบอลโลกรอบสุดท้ายกลับไปไม่เป็นเวลาเจอคู่แข่งที่ดีกว่าระดับเอเซีย ซึ่งประเด็นนี้ออสเตรเลียก็เคยประสบมาแล้วตอนสังกัดโอเชียเนีย "จนกว่าเอเซียจะสามารถพัฒนาทีมชาติเอเซียอื่นๆขึ้นมาเคียงบ่าเคียงไหล่ทีมชั้นยอดได้ (เมื่อนั้นเอเซียก็มีสิทธิทำได้ดีในบอลโลก)"

หนึ่งในชาติเอเซียที่ต้องดึงขึ้นมาให้ได้คือจีน ซึ่งไบเออร์เคยทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการของจีนในการเอากีฬาฟุตบอลกลับสู่โรงเรียน แม้เขาจะใจชื้นกับเงินที่จีนลงไปในกีฬาฟุตบอลและฟอร์มทีมชาติจีนในเอเชียนคัพ(เข้ารอบ 8 ทีมมาแพ้แชมป์อย่างออสเตรเลีย 0-2) แต่เขาบอกว่าหนทางยังอีกยาวไกลนัก

"จีนได้ไปบอลดลก 2002 รอบสุดท้ายเพราะเกาหลีใต่และญี่ปุ่นเป้นเจ้าภาพจึงไม่ต้องคัดเลือก" "ผมไม่เคยเห็นใครที่จีนพูดเรื่องนี้เลย เอาแต่พูดว่าจีนเคยไปบอลโลกมาแล้ว แต่ต้องยอมรับความจริงกันได้แล้ว"

"จีนหว่านเงินลงไปตรงยอดปิรามิดฟุตบอลโดยเชื่อว่าจะมีโค้ชมือดีพาทีมเข้ารอบสุดท้ายได้ซึ่งมันไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าทำการบ้านและมองกันดีๆจะเห็นว่าต้องสร้างจากรากหญ้า"

ญี่ปุ่นแพ้โคลอมเบียขาดในบอลโลก 2014

After South Korea’s scrappy quarter-final win over Uzbekistan, coach Uli Stielike expressed similar concerns. “You have to recognise that we have to work a lot, a lot, a lot in Korea from the base, from the boys 6-7-8 years, on the development of technical skills.”

Even more fundamental for Byer is the football culture of a country. And football culture means family and community. “Most of the world’s best players are uncoached,” he says. Instead, they learn from fathers, brothers, uncles and out on the streets. Which explains Africa.

“It’s probably not as organised, but there’s probably more kids that play it than they do out here. Everybody kind of looks at China and scratches their head and tries to figure out why a country with 1.3 billion don’t do well in football. Here’s the reality: nobody plays. And a lot of people don’t get that.”

ในเอเชียนคัพ 2015 หลังจากทีมชาติเกาหลีใต้เอาชนะอุซเบฯแบบฝืดๆ โค้ช อูลี่ สติลิเก้ ก็แสดงความเป็นห่วงในแนวเดียวกันว่า "จะเห็นว่าเราต้องพัฒนาอีกเยอะมาๆในบอลรากหญ้าในเกาหลี นับจาก U6-7-8 เพื่อพัฒนาเทคนิกการเล่น"

สำหรับไบเออร์นั้นมองลึกไปถึงวัฒนธรรมฟุตบอลในแต่ละประเทศเลย ซึ่งวัฒนธรรมฟุตบอลนั้นให้ความหมายถึงครอบครัวและชุมชน "นักเตะสุดยอดส่วนใหญ่ของโลกนั้นไม่ได้ฝึกบอลกับโค้ชนะ(ตอนเด็ก)" เขากล่าว แต่นักเตะเหล่านั้นหัดบอลกับพ่อ,พี่,ลุงหรือเล่นเองตามท้องถนน ซึ่งนี่คือแนวทางของอาฟริกา
"บอลแบบท้องถนนอาจจะไม่เป็นระบบแต่ในประเทศที่มีวัฒนธรรมฟุตบอลนั้นจะมีจำนวนเด็กเตะบอลมากกว่าในจีน ผุ้คนต่างมองไปที่จีนแล้วก็งงว่าทำไมประเทศที่มีประชากร 1.3 พันล้านคนมีผลงานฟุตบอลไม่ดีเลย ความจริงก็คือ ก็ไม่มีคนเล่นบอลไง ซึ่งหลายคนก็ไม่เข้าใจตรงนี้"


Byer says anything is possible for Asia. Shinji Okazaki, one of Japan’s star strikers, feels likewise. “Of course, the culture and history of soccer in Asia is still short – insufficient even, I think, if you’re talking about having a proper go at the World Cup,” he told Guardian Australia in the lead-up to the tournament. “But as the years go by, Asia is getting stronger, and the level of the Asian Cup is going up incredibly.”

Team-mate Gotoku Sakai agrees. “When you look at countries like Korea, as well as Australia and Japan, I feel those countries are improving a little at a time, to the point where they might be able to genuinely mix things up in Europe.”

Stielike, though, is less optimistic, accusing the confederation of insularity. “There is a lot of rivalry – Korea is looking at what Japan is doing, Japan is looking at what China is doing – we are observing each other and we forget a little the development of the football (in countries like) Spain, Germany, is passing by us. For the moment, the distance is going bigger and bigger. And this is something that we have to stop.”

ไบเออร์บอกว่าอะไรก้เป็นไปได้สำหรับเอเซีย ชินจิ โอคาซากิ ดารากองหน้าทีมชาติญี่ปุ่นรู้สึกถึงเรื่องนี้เหมือนกันว่า "แน่นอนว่าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ฟุตบอลในเอเซียนั้นยังไม่มากและยังไม่เพียงพอถ้าเราจะไปได้ดีในบอลโลกรอบสุดท้าย" โอคาซากิกล่าวกับ The Guardian ออสเตรเลีย ก่อนเอเชียนคัพ 2015 เริ่มขึ้น "แต่เมื่อเวลาผ่านไป เอเซียจะแข็งแกร่งขึ้น และระดับของเอเชียนคัพก็สูงขึ้นอย่างมาก"
โกโตกุ ซากาอิ ทีมชาติญี่ปุ่นอีกคนเห็นด้วยโดยบอกว่า "เมื่อคนมองไปที่เกาหลีใต้,ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ผมรู้สึกว่าประเทศเหล่านี้พัฒนาขึ้นทีละน้อยจนถึงจุดที่ว่าทีมเหล่านี้ไปชนกับยุโรปได้"
แต่ อูลี่ สติลิเก้ โค้ชทีมชาติเกาหลีใต้กลับมองโลกแง่ลบกว่านั้นโดยกล่าวหาโลกทัศน์แคบ "เกาหลีกับญี่ปุ่นเป้นคู่แข่งตัวเอ้กัน ญี่ปุ่นมองเกาหลี เกาหลีมองญี่ปุ่น แต่ลืมไปว่าฟุตบอลสเปน,เยอรมัน ก้าวเลยไปไกล ตอนนี้ไปไกลขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราต้องหยุดไม่ให้ช่องว่างมันมากไปกว่านี้"

อูลี่ สติลิเก้ โค้ชทีมชาติเกาหลีใต้พูดตรงตามสไตล์เยอรมันครับ สมัยแกเป็นผู้เล่นนี่มาเล่นกับเรอัล มาดริด จนแทบจะตั้งรกรากในสเปนเลย ทุกวันนี้แกใช้ทีมงานและล่ามที่พูดสเปนนะครับ พูดง่ายๆเกาหลีใต้เอาแกมาแบบ เยอรมัน+สเปน ทีเดียว

No Asian team picked up more than a single point at Brazil 2014, and all finished bottom of their group. If another embarrassment is to be avoided when the world’s gaze shifts onto Russia or returns to Asia in 2022, there’s a lot of work to do.

ในฟุตบอลโลก 2014 ไม่มีทีมเอเซียที่เก็บได้มากกว่า 1 แต้มเลย และทีมตัวแทนเอเซียทุกทีมบ๊วยกลุ่มทั้งสิ้น ถ้าจะไม่ให้ขายหน้าแบบนี้อีกในบอลโลกที่รัสเซียหรือบอลโลกที่กาต้า เอเซียต้องทำงานหนักอีกมาก

Source https://www.theguardian.com/football/blog/2015/feb/05/football-in-asia-improving-but-still-trailing-far-behind-africa

No comments:

Post a Comment